วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2554

แม่น้ำเจ้าพระยา

แม่น้ำเจ้าพระยา

 
แม่น้ำเจ้าพระยา
แผนที่แสดงเขตระบบแม่น้ำเจ้าพระยา
ต้นกำเนิดของแม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนครสวรรค์
แอ่งสมุทรมหาสมุทรแปซิฟิก
ระบบแม่น้ำระบบแม่น้ำเจ้าพระยา
ลุ่มน้ำประธานลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ชื่อแหล่งน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
ประเภทแม่น้ำ
ไหลผ่านFlag of ไทย ประเทศไทย
ความยาว372 กม.
พื้นที่ชลประทาน7.5 ล้านไร่
ต้นน้ำปากน้ำโพ
 - ที่ตั้งจังหวัดนครสวรรค์
ท้ายน้ำปากน้ำ (ปากน้ำเจ้าพระยา)
 - ที่ตั้งอ่าวไทย จังหวัดสมุทรปราการ
 - ระดับความสูง0.0 เมตร/รทป
ปริมาณน้ำ 
 - เฉลี่ย22,016 ล้าน ลบ.ม.
 - เฉลี่ยต่อพื้นที่20,125 ตร.กม.[1]
  
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำสายหลักสายหนึ่งของประเทศไทย เกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำสายหลัก 2 สายจากภาคเหนือ คือแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลลงไปทางทิศใต้ ผ่านจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร ก่อนออกสู่อ่าวไทยที่ปากน้ำ ซึ่งอยู่ระหว่างเขตตำบลท้ายบ้าน ตำบลบางปูใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ และตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
 

 ข้อมูลทางภูมิศาสตร์

จุดเริ่มของแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยการรวมของแม่น้ำปิงและแม่น้ำน่าน ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีขนาดถึง 160,000 ตารางกิโลเมตร[ต้องการอ้างอิง] และมีความยาวถึง 372 กิโลเมตร โดยแยกออกเป็นแม่น้ำท่าจีนที่จังหวัดชัยนาท
แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นแม่น้ำเก่าในยุคไพลสโตซีน เป็นหนึ่งแควหลักของแม่น้ำซุนดาเหนือ ร่วมสมัยกับแม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ต่อมาในต้นยุคโฮโลซีน น้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็ง ทำให้ขอบเขตแม่น้ำเจ้าพระยาหายไป เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาเกือบทั้งหมดจมอยู่ใต้อ่าวไทยโบราณ จากนั้นจึงเริ่มการทับถมของดินตะกอนใหม่อีกครั้งเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน

 การขุดลัดแม่น้ำ

 
แผนที่การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสามครั้งในสมัยอยุธยา เส้นสีน้ำเงินคือแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม เส้นสีเขียวคือแนวคลองลัด
การขุดลัดแม่น้ำเจ้าพระยาในบริเวณกรุงเทพมหานคร ทั้ง 3 ครั้งในสมัยอยุธยา ซึ่งประกอบด้วย
  1. คลองลัดบางกอก พ.ศ. 2065[2] รัชสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช
  2. คลองลัดบางกรวย พ.ศ. 2081 รัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
  3. คลองลัดนนทบุรี พ.ศ. 2139 รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ล่าสุดมีการขุดลอกคลองลัดโพธิ์ บริเวณตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง เพื่อช่วยในการระบายน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้า

 ลำน้ำสาขา

ด้วยความที่แม่น้ำเจ้าพระยามีความสำคัญเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของภาคกลาง ทั้งในด้านการเดินทางและวิถีชีวิต นอกจากจะมีการสร้างสะพานและท่าน้ำจำนวนมากแล้ว ยังมีลำน้ำสาขา คลองธรรมชาติ และคลองขุด ซึ่งเชื่อมโยงแม่น้ำเจ้าพระยากับพื้นที่ภายใน ให้สามารถติดต่อถึงกันได้ โดยลำน้ำสาขาและคลองมีจำนวนมาก แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

 ต้นน้ำ

ต้นน้ำซึ่งได้ไหลมาลงยังแม่น้ำเจ้าพระยาประกอบด้วย

 ลำน้ำสาขาฝั่งซ้าย

ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งซ้ายหรือฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

 จังหวัดนนทบุรี

 กรุงเทพมหานคร

 จังหวัดสมุทรปราการ

 ลำน้ำสาขาฝั่งขวา

ลำน้ำสาขาทั้งคลองธรรมชาติและคลองขุดในฝั่งขวาหรือฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ประกอบด้วย

 จังหวัดนนทบุรี

 กรุงเทพมหานคร

 จังหวัดสมุทรปราการ

 ท่าน้ำ

แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมอีกเส้นทางสำหรับคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงทำให้มีการสร้างท่าน้ำจำนวนมากเพื่อรองรับการขนส่งทางน้ำ โดยท่าน้ำในการเดินเรือโดยสารในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีดังนี้
  • ปากเกร็ด
  • วัดกลางเกร็ด
  • กระทรวงพาณิชย์
  • สะพานพระนั่งเกล้า
  • พิบูลสงคราม 4
  • นนทบุรี (พิบูลสงคราม 3)
  • บางศรีเมือง
  • พิบูลสงคราม 2
  • สะพานพระราม 5
  • วัดเขียน
  • วัดตึก
  • วัดเขมา
  • วัดค้างคาว
  • พิบูลสงคราม 1
  • พระราม 7
  • วัดสร้อยทอง
  • บางโพ
  • เกียกกาย
  • วัดฉัตรแก้ว
  • เขียวไข่กา
  • กรมชลประทาน
  • พายัพ
  • วัดเทพนารี
  • สะพานกรุงธน
  • วาสุกรี
  • วัดคฤหบดี
  • เทเวศร์
  • สะพานพระราม 8 (บางขุนพรหม)
  • พระอาทิตย์ (บางลำพู)
  • พระปิ่นเกล้า
  • รถไฟ
  • พรานนก (ศิริราช)
  • วังหลัง
  • พระจันทร์
  • มหาราช
  • ท่าช้าง
  • วัดระฆัง
  • ราชวรดิฐ
  • ท่าเตียน
  • วัดอรุณ
  • ราชินี
  • ปากคลองตลาด
  • วัดกัลยาณมิตร
  • ซางตาครูซ
  • สะพานพุทธ
  • ราชวงศ์
  • ท่าดินแดง
  • กรมเจ้าท่า
  • สี่พระยา
  • คลองสาน
  • วัดม่วงแค
  • วัดสุวรรณ
  • โอเรียนเต็ล
  • วัดสวนพลู
  • ดูเม็กซ์
  • สาทร
  • ตากสิน
  • วัดเศวตฉัตร
  • วัดวรจรรยาวาส
  • วัดราชสิงขร
  • ถนนตก
  • บิ๊กซีราษฎร์บูรณะ
  • ราษฎร์บูรณะ
  • สาธุประดิษฐ์
  • วัดบางกระเจ้านอก
  • เพชรหึงษ์
  • วัดคลองเตยนอก
  • วัดบางน้ำผึ้งนอก
  • บางนา (วัดบางนานอก)
  • ท่าตาเลื่อน (บางน้ำผึ้ง)
  • เภตรา (พระประแดง)
  • วิบูลย์ศรี (ปากน้ำ)
  • พระสมุทรเจดีย์

 สะพาน

 
แม่น้ำเจ้าพระยาใกล้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร
แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศ จึงมีสะพานข้ามแม่น้ำจำนวนมาก และส่วนใหญ่ในจำนวนนี้เป็นสะพานที่มีชื่อเรียก เช่น (เรียงจากต้นน้ำ)
  1. สะพานเดชาติวงศ์ ถนนพหลโยธิน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
  2. สะพานตะเคียนเลื่อน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 122 อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
  3. สะพานสมเด็จพระวันรัต เฮง ​เขมจารี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 333 อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
  4. สะพานธรรมจักร อำเภอมโนรมย์และอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
  5. สะพานชัยนาท ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 340 อำเภอเมืองชัยนาท จังหวัดชัยนาท
  6. เขื่อนเจ้าพระยา ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
  7. สะพานวัดโคกจันทร์ อำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท
  8. สะพานอินทร์บุรี ทางหลวงชนบท สห.2006 อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  9. สะพานสิงห์บุรี ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 311 อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  10. สะพานหลวงพ่อแพ ทางหลวงชนบท สห.3026 อำเภอเมืองสิงห์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  11. สะพานพรหมบุรี อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี
  12. สะพานวัดไชโย ทางหลวงชนบท อท.4002 อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง
  13. สะพานอ่างทอง อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
  14. สะพานอ่างทอง 2 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 334 อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง
  15. สะพานป่าโมก ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 329 อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
  16. สะพานอยุธยา-ภูเขาทอง ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  17. สะพานกษัตราธิราช ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3263 อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  18. สะพานเกาะเรียน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 356 อำเภอพระนครศรีอยุธยาและอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  19. สะพานบางไทร ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 347 อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
  20. สะพานเชียงราก ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านตะวันตก) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี
  21. สะพานปทุมธานี ถนนรังสิต-ปทุมธานี อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  22. สะพานปทุมธานี 2 อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี
  23. สะพานนนทบุรี (สะพานนวลฉวี) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 307 อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  24. สะพานพระราม 4 ถนนชัยพฤกษ์ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
  25. สะพานคู่ขนานสะพานพระนั่งเกล้า ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
  26. สะพานพระนั่งเกล้า ถนนรัตนาธิเบศร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
  27. สะพานพระราม 5 ถนนนครอินทร์ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
  28. สะพานพระราม 7 ถนนจรัญสนิทวงศ์และถนนวงศ์สว่าง อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
  29. สะพานพระราม 6 ทางรถไฟสายใต้ เขตบางพลัดและเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร
  30. สะพานกรุงธน (สะพานซังฮี้) ถนนราชวิถี เขตบางพลัดและเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
  31. สะพานพระราม 8 ถนนอรุณอมรินทร์และถนนวิสุทธิกษัตริย์ เขตบางพลัดและเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  32. สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า เขตบางกอกน้อยและเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  33. สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพุทธ) ถนนประชาธิปกและถนนตรีเพชร เขตธนบุรีและเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  34. สะพานพระปกเกล้า เขตคลองสานและเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
  35. สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สะพานสาทร) ถนนกรุงธนบุรี ถนนสาทรเหนือ และสาทรใต้ เขตคลองสาน เขตบางรัก และเขตสาทร กรุงเทพมหานคร
  36. สะพานพระราม 3 เขตธนบุรีและเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
  37. สะพานกรุงเทพ ถนนมไหสวรรย์ เขตธนบุรีและเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
  38. สะพานพระราม 9 ทางพิเศษเฉลิมมหานคร เขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร
  39. สะพานภูมิพล 1 ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
  40. สะพานภูมิพล 2 ถนนวงแหวนอุตสาหกรรม อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
  41. สะพานกาญจนาภิเษก ถนนกาญจนาภิเษก (ด้านใต้) อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ที่มา....http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น