วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต

 
รูปแสดงเครือข่ายใยแมงมุม (WWW) ที่เชื่อมโยงรอบ ๆ วิกิพีเดีย

อินเทอร์เน็ต (อังกฤษ: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้

 

ที่มา

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต

การประยุกต์ใช้อินเทอร์เน็ตในปัจจุบันทำได้หลากหลาย อาทิเช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail) , สนทนา (Chat), อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด, การติดตามข่าวสาร, การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล, การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์ , การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ, การติดตามข้อมูล ภาพยนตร์ รายการบันเทิงต่างๆ ออนไลน์, การเล่นเกมคอมพิวเตอร์ออนไลน์, การเรียนรู้ออนไลน์ (e-Learning), การประชุมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต (Video Conference), โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต (VoIP), การอับโหลดข้อมูล หรือ อื่นๆ
แนวโน้มล่าสุดของการใช้อินเทอร์เน็ตคือการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์เพื่อสร้างสังคมออนไลน์ (Social Network) ซึ่งพบว่าปัจจุบันเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมดังกล่าวกำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็น facebook, twitter, hi5 และการใช้เริ่มมีการแพร่ขยายเข้าไปสู่การใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ (Mobile Internet) มากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีปัจจุบันสนับสนุนให้การเข้าถึงเครือข่ายผ่านโทรศัพท์มือถือทำได้ง่ายขึ้นมาก

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก

 
สัดส่วนการผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแยกตามทวีป, ที่มา: http://www.internetworldstats.com/stats.htm
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.733 พันล้านคน หรือ 25.6 % ของประชากรทั่วโลก (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2552) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ เอเชีย โดยคิดเป็น 42.6 % ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหมด และประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 360 ล้านคน
หากเปรียบเทียบจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกับจำนวนประชากรรวม พบว่าทวีปอเมริกาเหนือมีสัดส่วนผู้ใช้ต่อประชากรสูงที่สุดคือ 74.2 % รองลงมาได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย 60.4 % และ ทวีปยุโรป คิดเป็น 52.0 % ตามลำดับ

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการ เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า "เครือข่ายไทยสาร"
การให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยได้เริ่มต้นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อ เดือน มีนาคม พ.ศ. 2538 โดยความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจ 3 แห่ง คือ การสื่อสารแห่งประเทศไทย องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และสำนักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยให้บริการในนาม บริษัท อินเทอร์เน็ต ประเทศไทย (Internet Thailand) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์รายแรกของประเทศไทย [1]

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้ ปี 2534 (30คน) ปี 2535 (200 คน) ปี 2536 (8,000 คน) ปี 2537 (23,000 คน) ... ข้อมูลล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2551 จากจำนวนประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปประมาณ 59.97 ล้านคน พบว่า มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 16.99 ล้านคน คิดเป็น ร้อยละ 28.2 และมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 10.96 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18.2 [2]

อินเทอร์เน็ตแบนด์วิท

ปัจจุบัน (มกราคม 2553) ประเทศไทยมีความกว้างช่องสัญญาณ (Internet Bandwidth) ภายในประเทศ 110 Gbps และระหว่างประเทศ 110 Gbps [3]

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

เน็ตแวร์

เน็ตแวร์

NetWare เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่พัฒนาโดย Novell และเป็นครั้งแรกที่ใช้ cooperative multitasking เพื่อให้บริการสิ่งต่างๆบนเครื่องคอมพิวเตอร์ และโพรโทคอลเครือข่ายที่เป็นพื้นฐานบนรูปแบบแรกเริ่มของ Xerox , XNS stack
NetWare อาจจะถูกแทนที่ด้วย Open Enterprise Server เวอร์ชันล่าสุดของ NetWare ก็คือ V.6.5 สนับสนุน Pack 7 ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ OES 2 NetWare Kernel

 

 ประวัติ

NetWare วิวัฒนาการมาจากความคิดที่ง่ายมากคือ การแชร์ไฟล์แทนที่การแชร์ดิสก์ ในปี ค.ศ. 1983 เมื่อเวอร์ชันแรกของ Netware ได้ถูกออกแบบมา การแข่งขันของผลิตภัณฑ์อื่นๆทั้งหมด จะมีพื้นฐานบนความคิดที่ว่าการเตรียมการแชร์ดิสก์โดยการเข้าถึงโดยตรง อีกทางเลือกหนึ่งของ Novell ที่จะทำให้เข้าใกล้ความสำเร็จคือ ในปี 1984 โดย IBM ให้ความช่วยเหลือในการโฆษณาผลิตภัณฑ์ไปพร้อมกับผลิตภัณฑ์ของ IBM
กับ Novell NetWare แล้วที่ว่างบนดิสก์มีการแชร์อยู่ในรูปแบบของ NetWare ทั้งหมดเปรียบได้เท่ากันกับ DOS เครื่องลูกที่ทำงานบนระบบ MS-DOS จะทำงานเป็นแบบที่พิเศษคือแบบ Terminate and Stay Resident (TSR) โปรแกรมจะอนุญาตให้ TSR แมพกับ local drive และส่งไปยังระดับ NetWare เครื่องลูกจะมีการเข้าถึง server ในรายการที่มีการอนุญาตเพื่อการแมพและการสามารถมีการควบคุมซึ่งขึ้นอยู่กับชิ่อที่ทำการ login ในทำนองเดียวกัน NetWare ก็สามารถติดต่อกับการแชร์ปริ๊นเตอร์บน dedicated server และปริ๊นได้ถ้าเครื่องปริ๊นเตอร์มีการเชื่อมต่อแบบ local และการสร้าง NetWare มีอิทธิพลต่อสภาพทางการตลาดในยุคแรกๆและในกลางปี 1990 ด้วยการพัฒนา XNS-derived โพรโทคอล IPX/SPX ตามแบบ local area network (LAN) เป็นมาตรฐาน
ตอนท้ายปี 1990 ระบบอินเทอร์เน็ตมีการติดต่อกันอย่างรวดเร็ว โดยระบบอินเทอร์เน็ตจะใช้โพรโทคอล TCP/IP มาเป็นส่วนสำคัญของระบบ Novell มีการแนะนำถึงข้อจำกัดของโพรโทคอล TCP/IP ว่ามันจะสนับสนุนเพียง Netware v3.x ( รุ่นปี 1992 ) และ v4.x ( รุ่นปี 1995 ) แต่ NetWare ส่วนใหญ่จะใช้ได้กับโพรโทคอล FTP และ UNIX- style LPR/LPD printing ( เหมาะที่จะใช้ใน NetWare v3.x ) และ Novell ได้พัฒนา webserver ( ใน NetWare v4.x ) โดยทั่วไปโพรโทคอล TCP/IP จะสนับสนุนระบบไฟล์ของเครื่องลูกและการให้บริการพิมพ์แบบปกติ อันเกี่ยวเนื่องกับ Netware ซึ่งได้แนะนำไว้ใน Netware v5.0 ( ปล่อยออกมาในปี 1998 )

ในขณะที่คุณสมบัติบางประการของ Novell ก็ได้รับมาจาก TCP/IP ซึ่งเป็นโพรโทคอลพื้นฐานที่ใกล้สูญหายของ Netware มันเป็นการแน่นอนว่าการพูดถึง Novell ว่าอนุญาตให้ตัวมันเองเป็น outmarketed ช่วงเวลาในยุคแรกจนกระทั่งกลางปี 1980 บริษัท Microsoft ได้แนะนำพวกเขาให้มาเป็นเจ้าของระบบ LAN ใน LAN-Manager บนพื้นฐานการแข่งขันโพรโทคอล NBF ในยุคแรกได้พยายามถึงความแข็งแกร่งบน Netware ไม่ประสบผลสำเร็จ แต่การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้รวบรวมการแก้ไขระบบเครือข่ายเพื่อให้สนับสนุน Windows for Workgroup และจากนั้น Windows NT , Windows 95 ก็ได้ประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล โดย Windows NT มีจุดเด่นคือการเสนอการบริการมีความคล้ายคลึงกับการเสนอการบริการของ Netware แต่บนระบบเหล่านั้นยังสามารถใช้งานบนเดสก์ทอปได้ด้วย และการติดต่อโดยตรงถึง Windows desktop อื่นๆในที่ไหนๆ NBF ก็จะถูกใช้เป็นสากล

 จุดเริ่มต้นของ Netware

ความนิยมของผู้ใช้และการเจริญเติบโตของ Novell NetWare เริ่มในปี 1985 ในขณะเดียว กันก็ได้ปล่อยผลิตภัณฑ์ของ NetWare 286 2.0a และโปรเซสเซอร์ Intel 80286 16-bit โดย CPU 80286 มีลักษณะเฉพาะในรูปแบบใหม่ก็คือ มี protection mode เป็น 16 บิต การเข้าถึง RAM 16 MB ตามวิธีการเพื่อสนับสนุน multi-tasking
ก่อนที่จะมาใช้ CPU 80286 เครื่อง server มีการใช้ Intel 8086/8088 8/16-bit เป็นพื้นฐานมาก่อนซึ่งโปรเซสเซอร์แบบนี้จะจำกัดพื้นที่ว่างของ Address คือใน 1 MB ให้ใช้งานได้ 640 KB หรือต่ำกว่า RAM ที่ใช้อยู่และมีความบกพร่องกว่าแบบ multi-tasking การรวมกันของ RAM 16 MB มีข้อจำกัด โปรเซสเซอร์ 80286 จะมีลักษณะเฉพาะในการใช้ประโยชน์และขนาด 256 MB เป็นขนาดที่จำกัดของ NetWare ที่มีการอนุญาตให้ใช้งานได้ cost-effective server- based ของพื้นที่เครือข่ายท้องถิ่นมีการสร้างขึ้นมาสำหรับช่วงเวลาแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง RAM 16 MB มีการจำกัดความสำคัญ หลักจากที่สร้าง RAM ตามความต้องการสำหรับความจำแคชของดิสก์เพื่อดำเนินการแก้ไขสิ่งที่สำคัญต่างๆ การกลับมาครั้งนี้เป็นกุญแจสู่การดำเนินการของ Novell ในขณะเดียวกันได้มีการอนุญาตให้สร้างเครือข่ายที่ใหญ่กว่าอีกด้วย
ลักษณะที่สำคัญอื่นๆที่แตกต่างจาก NetWare 286 คือ มันมี hardware ที่ไม่ขึ้นกับใคร หรือเป็นอิสระแตกต่างกับระบบ server ที่มาจาก 3Com โดย Novell server สามรถใช้งานร่วมกับระบบเป็นบางรุ่น เช่นกับ Intel 80286 หรือ CPU ที่ขั้นสูงกว่าหรืออาจใช้ MFM ,RLL,ESDI, หรือ SCSI hard driveและอุปกรณ์เครือข่าย 8 บิต หรือ 16 บิตอื่นๆ แต่มันมีปัญหาอยู่ก็คือการหาไดร์เวอร์ที่มีความเหมาะสม
Novell ได้ออกแบบให้มีความกะทัดรัดและโปรแกรมซอฟต์แวร์ DOS client ที่ไม่ยุ่งยากและจะอนุญาตให้ DOS station ติดต่อกับ server และการเข้าถึงการแชร์ server hard drive ถึงแม้ว่าระบบไฟล์ของ NetWare server เริ่มนำการออกแบบระบบไฟล์ขึ้นมาใหม่แต่นั้นมันมีกรรมสิทธิ์ มันปรากฏเป็นมาตรฐานซึ่งเข้ากันได้กับ DOS จนถึง Workstation และมีการรับรองการทำงานร่วมกันกับ DOS ยังคงอยู่ทั้งหมด

 ยุคปีแรก

NetWare อยู่บนพื้นฐานของ consulting work โดยซอฟแวร์ SuperSet ก่อตั้งโดยกลุ่มเพื่อนๆได้แก่ Drew Major, Dale Neibaur, Kyle Powell และ Mark Hurst งานนี้มีฐานกำลังอยู่บน ห้องทำงานของพวกเขาเองที่ Brigham Young University ใน Provo, Utah เริ่มในเดือนตุลาคมในปี 1981 ในปี 1983 Raymond Noorda ยุ่งอยู่กับงานที่ทำโดยทีม SuperSet โดยทีมมีความคิดริเริ่มในการกำหนดการสร้างระบบ CP/M disk sharing เพื่อช่วยเหลือเครือข่าย CP/M hardware เช่นนั้น Novell จึงมีการจำหน่ายขณะเวลานี้ ทีมมีความลับที่ทำให้เชื่อมันว่า CP/M จะมีวาระที่จะได้ขึ้นแท่นและจะกลับขึ้นมาแทนที่กับการประสบความสำเร็จของระบบไฟล์แชร์ริ่งเพื่อวิธีการใหม่ IBM จะสามารถเข้ากันได้ดีกับ PC พวกเขาทำการเขียนการร้องขอด้วย application ที่เรียกว่า Snipes กลวิธี text-mode และวิธีใช้งานเพื่อทดสอบเครือข่ายใหม่และแสดงถึงประสิทธิภาพของมัน Snipes เป็น application เครือข่ายอันแรกทีมีการเขียนตลอดการใช้งานสำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และมันเป็นที่รู้จักของผู้ที่ทำงานในด้านนี้มาก่อนที่นิยมใช้ดลวิธีแบบ multiplayer เช่น Doom และ Quake เป็นต้น
Network operating system (NOS) ในภายหลังเรียกกันว่า Novell NetWare โดย NetWare อยู่บนพื้นฐานของ NetWare Core Protocol (NCP) ซึ่งเป็นโพรโทคอลแบบ packet- based จะเปิดให้เครื่องลูกทำการร้องขอเพื่อการตอบรับจาก NetWare ครั้งแรก NCP คือการจำกัดโดยตรงของโพรโทคอล IPX/SPX ซึ่งมีความมุ่งหมายตั้งแต่แรกว่า NetWare สามารถใช้ IPX/SPX เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารเท่านั้น
ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ทรงไว้ในชื่อ NetWare ที่ได้ถูกปล่อยออกมาในปี 1983 มันเรียกว่าNetWare 68 (aka S-Net) มันทำงานบนโปรเซสเซอร์ Motorola 68000 และมี network topology เป็นแบบ star มันถูกแทนที่ในปี 1985 ด้วย NetWare เวอร์ชัน 1.5 ซึ่งมีการเขียนไว้สำหรับ Intel 8086 หลังจากที่โปรเซสเซอร์ Intel 8086 ได้ถูกเปิดตัวออกมาก็ได้ปล่อยผลิตภัณฑ์ NetWare 286ในปี 1986 สิ่งที่เกิดขึ้นเหมือนกันกับการปล่อยผลิตภัณฑ์ของ Intel Novell 80386 คือ Novell ได้มีการปล่อย NetWare 386 ในปี 1989 ต่อมา Novell ได้ทำหมายเลขของ NetWare ที่ปล่อยออกมาให้ดูมั่นคงยิ่งขึ้นโดย NetWare 286 กลายเป็น NetWare 2.x และ NetWare 386 กลายเป็น NetWare 3.x

 เวอร์ชันของ NetWare

NetWare 286 2.x NetWare เวอร์ชัน 2 เป็นเวอร์ชันที่รู้จักกันไปทั่วในเรื่องความยากในการตั้งค่า หลังจากที่ระบบปฏิบัติการเตรียมการรวมกันของการตั้งค่าของ object modules ที่ต้องการตั้งค่าและเชื่อม โยง การรวมกันนั้นไม่มีความสะดวกในการโปรเซสและออกแบบเพื่อการทำงานจาก diskettes หลายๆอันซึ่งจะช้าและไม่น่าเชื่อถือ
การเปลี่ยนแปลงใดๆของระบบปฏิบัติการต้องการเริ่มการเชื่อมโยงใหม่ของ kernel และการเริ่มต้นการทำงานใหม่จะต้องมีการแลกเปลี่ยน diskettes น้อยกว่า 20 อัน NetWare เป็นการบิหารจัดการที่ใช้ text-based มาทำประโยชน์ เช่น SYSCON เป็นต้น ระบบไฟล์ที่ใช้ NetWare 2 นั้นเป็น NetWare รุ่น 286 หรือ NWFS 286 ที่สนับสนุนในระดับที่ค่อนข้างสูงคือ 256 MB โดย NetWare 286 ยอมรับ protection mode 80286 เท่านั้น และจำกัดการสนับสนุนของ RAM ที่มีขนาด 16 MB หรือต่ำกว่า โดยหน่วยความจำที่มีขนาดเล็กเป็น 2 MB ถ้ามีความต้องการเริ่มการทำงานกับระบบปฏิบัติการจะต้องใช้ RAM อื่นๆร่วมด้วยเพื่อใช้สำหรับ FAT,DET และfile cachingหลังจากที่ protection mode 16 บิต เป็นวิธีการของ i80286 และทั้งหมดที่เป็นรุ่นหลังโปรเซสเซอร์ Intel x86 และ NetWare 286 เวอร์ชัน 2.x มีการทำงานบน 80286 หรือโปรเซสเซอร์รุ่นถัดมาที่เข้ากันได้ NetWare 2 มีวิธีการในการตั้งหมายเลขให้เรียบร้อยและลักษณะเฉพาะของหมายเลขได้แรงบันดาลใจจาก mainframe และระบบ minicomputer ไม่มีความเหมาะสมที่จะใช้ในระบบปฏิบัติการอื่นๆของวันนี้ ลักษณะเฉพาะของ System Fault Tolerance (SFT) ประกอบด้วย มาตรฐาน read-after-write ตามข้อเท็จจริง (SFT- I ) กับ on-the-fly เป็นการบล็อกที่ไม่ดี (ในเวลาที่ดิสก์ไม่มีคุณลักษณะที่จะสร้างได้ ) และซอฟต์แวร์ RAID1 ( ดิสก์ที่มีผิวหน้าสะท้อนแสง SFT-II ) Transaction Tracking System (TTS) เป็นทางเลือกในการป้องกันหรือต้านไฟล์ที่ไม่สมบูรณ์ สำหรับ single file มีความต้องการคุณลักษณะของไฟล์เท่านั้นเพื่อการตั้งค่า การจัดการกับหลายๆไฟล์และการควบคุม roll-back มีความเป็นไปได้ด้วยการโปรแกรมโดย TTS API
NetWare 286 2.x สนับสนุนสองโหมดของระบบปฏิบัติการคือ dedicated และ non- dedicated โดยในโหมดของ dedicated เครื่อง server จะใช้ boot loader ในการดำเนินการระบบปฏิบัติการไฟล์ net$os.exe หน่วยความจำทั้งหมดมีการจัดสรรเพื่อ NetWare และไม่มี DOS ทำงานบน server สำหรับ non- dedicated จะเป็นระบบปฏิบัติการ DOS 3.3 หรือสูงกว่า การเริ่มต้นการทำงานจะใช้ฟลอปปี้ดิสก์ หรือ bootable DOS จาก hard drive โดยที่ DOS มีการจำกัดหน่วยความจำเพียง 640 MB เท่านั้นเนื่องด้วยไม่มีการอนุญาตการจัดการหน่วยความจำ การขยายตัวทั้งหมดของ RAM เป็นการจัดสรรเพื่อ NetWare 286 และโปรเซสเซอร์จะเป็นแบบ time-slice ระหว่าง DOS กับโปรแกรม NetWare เวลาเล็กๆมีความสบบูรณ์ในการใช้ keyboard ในการขัดจังหวะ ลักษณะเฉพาะนี้ต้องการความแน่นอนและยอมรับได้กับการออกแบบในรูปแบบ IBM PC เป็นการกระทำอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบ สำหรับเครือข่ายเล็กๆที่มีผู้ใช้ 2-5 คน โหมด non- dedicated ใน NetWare จึงมีความนิยมมาก อย่างไรก็ตามมันเป็นมากกว่าความรู้สึกไวต่อการเปิดที่เหมาะสมถึงปัญหาของโปรแกรม โดย NetWare 386 3.x และเวอร์ชันต่อไปเท่านั้นที่จะสนับสนุนการกระทำแบบ dedicated
NetWare 3.x
เริ่มต้นกับ NetWare 3.x สนับสนุน protection mode ขนาด 32 บิต เป็นการเพิ่มและจำกัดหน่วยความจำได้แค่ 16 Mb ของ NetWare 286 การปูทางบนเส้นทางสำหรับการสนับสนุน hard drive ที่มีขนาดใหญ่ หลังจากที่ NetWare 3.x ได้ทำสำเนาเป็นแบบ file allocation table (FAT) ทั้งหมดและ directory entry table (DET) ลงไปในหน่วยความจำสำหรับการปรับปรุงการดำเนินการ
NetWare เวอร์ชัน 3 มีความง่ายต่อการพัฒนาและการจัดการด้วย modularization แต่ละฟังก์ชันมีการควบคุมด้วยรูปแบบของซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า Netware Loadable Module (NLM) โหลดแต่ละอันเริ่มต้นการทำงานหรือเมื่อมีความต้องการ มันมีความเป็นไปได้ถึงการเพิ่มฟังก์ชัน เช่น ซอฟต์แวร์ anti-virus ,ซอฟต์แวร์สำรองข้อมูล,ฐานข้อมูลและ webserver ความยาวของชื่อสนับสนุน (มาตรฐานของชื่อไฟล์จะจำกัดเป็น 8 อักขระรวมกับ 3 ตัวอักษร ) และเข้ากันกับ MS-DOS หรือรูปแบบไฟล์แบบ Macintosh
NetWare ทำงานจัดการด้วยการใช้คุณสมบัติ console-based ระบบไฟล์ได้มีการแนะนำด้วย NetWare 3.x และใช้งานด้วยค่าเริ่มต้นจนกระทั่ง NetWare 5.x เป็น NetWare File System 386 หรือ NWFS 386 ซึ่งสิ่งสำคัญในการขยายความจุ (1 TB, 4 GB ไฟล์) และสามารถใช้ได้ถึงลำดับ 16 ระดับ การประเมินเซกเมนต์เป็นแบบมัลติฟิสิคอลดิสก์ไดรฟ์ ระดันเซกเมนต์สามารถเพิ่มเข้าไปใน server และเป็นระดับที่ตั้งไว้ อนุญาตให้ server ขยายออกจากการขัดจังหวะ
ครั้งแรก NetWare ใช้ Bindery Services เพื่อทำให้น่าเชื่อถือเป็นระบบฐานข้อมูลแบบ stand - alone ที่ไหนๆใช้การเข้าถึงและระบบความปลอดภัยของข้อมูลขึ้นอยู่กับรายบุคคลแต่ละ server เมื่อสิ่งที่เป็นโครงสร้างบรรจุมากกว่าหนึ่ง server แล้ว ผู้ใช้มีการ log-in ถึงแต่ละส่วนของพวกเขาเป็นรายบุคคลไปและแต่ละ server มีการตั้งค่ากับรายการของการอนุญาตทั้งหมดของผู้ใช้
“Netware Name Services”เป็นผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้ผู้ใช้ข้อมูลมีการขยายข้อมูลได้ซึ่งตรงข้ามกับแบบ multiple server และ Windows “Domain” มีความคิดเป็นฟังก์ชันที่เทียบเท่ากับ Netware v3.x โดย Bindery Services กับ Netware Name Services ได้เพิ่มอยู่บน (เช่นฐานข้อมูลขนาด 2 มิติกับ flat namespace และ static schema )
ชั่วขณะหนึ่ง Novell พร้อมด้วยการตลาดของ OEM เวอร์ชันของ Netware 3 ได้ถูกเรียกว่า Portable NetWare พร้อมกันกับ OEM เช่น Hewlett-Packard ,DEC และ Data ผู้ซึ่งถือโค้ด Novell เพื่อทำงานบนระดับสูงของพวกเขาเป็นระบบปฏิบัติการ UNIX และ Netware แบบเดียวกันเท่านั้นที่จะพบกับความสำเร็จที่มีขอบเขต
ในรุ่น 3.x Novell ได้แนะนำให้มันเป็นสิ่งแรกที่เหมาะที่จะใช้กับระบบ clustering โดยให้มีชื่อว่า Netware SFT-III ซึ่งอนุญาตให้ลอจิคอล server เพื่อให้ความสำเร็จของการแยกกลไกระดับฟิสิคอล วิธีการทำ shared-nothing ให้เป็นกลุ่ม ภายใต้ของ SFT-III ของ OS เป้นเหตุผลในการแบ่งการขัดจังหวะของ อินพุต/เอาต์พุต ของเครื่องและ event-driven OS core โดย อินพุต/เอาต์พุต ของเครื่องทำให้เป็นแบบอนุกรมในการขัดจังหวะ (ดิสก์ เครือข่าย เป็นต้น) ในการรวมกันของเหตูการณ์เป็นกระแสให้ความเหมือนที่น่าเบื่อในการทำสำเนาอยู่สองอย่างเป็นของระบบเครื่องที่เร็วเกินไป (100 Mbit/s) และการเชื่อมโยง inter-server เพราะว่ามันไม่เกี่ยวกับลักษณะของ OS อินพุต/เอาต์พุต ของแบบ non- dedicated เป็นการกระทำแบบเสี่ยงดวงซึ่งเหมือนกับ finite state machine ที่มีขนาดใหญ่
เอาต์พุตของเครื่อง 2 ระบบ เป็นการเปรียบเทียบถึงการรับรองการปฏิบัติการที่เหมาะสมและทั้งสองสำเนาได้ถูกป้อนกลับสู่อินพุต/เอาต์พุตของเครื่อง และการใช้การดำรงอยู่ของ SFT-II ซอฟต์แวร์ RAID ทำหน้าที่เสนอในแก่นแท้ ดิสก์สามารถสะท้อนระหว่าง 2 เครื่องที่ปราศจากฮาร์ดแวร์ที่มีความพิเศษทั้ง 2 เครื่องสามารถแยกออกได้ไกลพอๆกับ server-to-server ที่มีการอนุญาตให้ติดต่อกัน ในบล็อกของ server หรือดิสก์ที่ไม่สามารถทำงานได้ server ที่คงอยู่ควรจะเข้ามาแทนที่เครื่องลูก หลังจากการหยุดการทำงานที่สั้นมันมีสภาพการประชาสัมพันธ์เต็มรูปแบบและไม่สามารถทำงานได้ตัวอย่างเช่น มีการติดอยู่ในระดับโปรเซสซึ่ง NetWare จะขึ้นชื่อในด้านความล่าช้าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น SFT-III เป็น NetWare เวอร์ชันแรกที่สามารถทำให้ใช้ SMPฮาร์ดแวร์ อินพุต/เอาต์พุตของเครื่องสามารถมีคุณสมบัติทำงานบน CPU ของตัวมันเอง
NetWare SFT-III มีความเป็นอยู่ข้างหน้าของเวลาในหลายๆด้านเป็นการรวมความสำเร็จ มันควรจะมีชื่อเสียงที่มีความนำสมัยของ NetWare’s clustering โดย Novell Cluster Services (ได้แนะนำใน NetWare v5.0) มันมีความแตกต่างอย่างว่าจาก SFT-III NetWare 386 3.x เป็นการออกแบบทั้งหมดของแอปพลิเคชันบน server ที่มีระดับที่เหมือนกันของโปรเซสที่การป้องกันหน่วยความจำจะรู้จักกันใน” ring 0 ” ชั่วขณะที่จัดหาสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการดำเนินการมันเป็นการเสียสละที่น่าไว้วางใจ ผลลัพธ์ที่ได้มันล้มเหลวมันเป็นไปได้และผลลัพธ์ได้ยุติลงพร้อมกับระบบ เริ่มต้นกับ NetWare 5.x รูปแบบซอฟต์แวร์ (NetWare Loadable Modules หรือ NLM’s) สามารถกำหนดการทำงานในโปรเซสเซอร์ที่มีความแตกต่างในการปกป้องการติดต่อเพื่อรับรองว่าซอฟต์แวร์ error หรือไม่และระบบจะไม่ล้มเหลว
ในการเปรียบเทียบมันช้าพอๆกับ Windows NT v4.0 ส่วนใหญ่แล้ว “best-practices” แนะนำให้อยู่ในทุกเดือนหรือทุกสัปดาห์ในการเริ่มการทำงานใหม่ที่เหมาะสมกับความจำที่เป็นรอยแยก
NetWare 4.x
เวอร์ชัน 4 ในปี 1993 ได้ถูกแนะนำในชื่อ Novell Directory Services (NDS) อยู่บนฐานของ X.500 ซึ่งได้เข้ามาแทนที่ Bindery กับ Directory service ทั้งหมด ซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นโครงสร้างเพื่อระบุและจัดการในทีเดียว การเพิ่ม NDS ให้ขยายตัวออกไปได้อนุญาตให้แนะนำชนิดของวัตถุใหม่และอนุญาตให้ผู้ใช้ที่น่าเชื่อถือแค่คนเดียวเพื่อดูแลการเข้าถึง server ที่พวกเขาอยู่ด้วย ถึงแม้ว่าผู้ใช้ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้งานก็ยังคงจำกัดเพราะว่าเป็น server ส่วนบุคคล (โครงการใหญ่ๆสามารถเลือกอนุญาตให้เป็นรูปแบบพื้นฐานของพวกเขาและไม่จำกัดผู้ใช้ต่อ server ถ้าพวกเขาอนุญาตให้ Novell ทำบัญชีจำนวนผู้เข้าใช้ทั้งหมด )
เวอร์ชัน 4 ได้ถูกแนะนำว่าเป็นหมายเลขเครื่องมือในการใช้ประโยชน์และลักษณะเฉพาะเช่นการบีบอัดที่เข้าใจง่ายที่ระดุบระบบไฟล์และ RSA เป็นทั้ง public/private นอกจากนี้มีลักษณะเฉพาะแบบใหม่เป็น NetWare Asynchronous Services Interface (NASI) มันอนุญาตให้เครือข่ายแชร์อุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น โมเด็ม เป็นต้น และเครื่องลูกเปลี่ยนพอร์ตใหม่ให้เกิดขึ้นโดยทาง MS-DOS หรือ Microsoft Windows ที่อนุญาตให้บริษัททำให้โมเด็มมีความแข็งแรงและใช้สายโทรศัพท์แบบอนาล็อก
NetWare 5.x
กับการปล่อย NetWare 5 ในเดือนตุลาคมปี 1998 สุดท้าย Novell ก็ได้ยอมรับการโผล่ออกมาของอินเทอร์เน็ตโดยการสวิทชิ่งมันเป็นอินเตอร์เฟส NCP แบบปฐมภูมิจาก IPX/SPX เครือ ข่ายโพรโทคอล TCP/IP แต่ยังคงสนับสนุน IPX/SPX อยู่แล้วเปลี่ยนมาเป็นความสำคัญถึง TCP/IP เช่นเดียวกันแล้ว Novell ได้เป็น GUI ให้กับ NetWare โดยมีลักษณะเฉพาะใหม่แบบอื่นๆด้วย
  • Novell Storage Services (NSS) เป็นระบบไฟล์ใหม่ที่เข้ามาแทนที่ NetWare File System ซึ่งยังคงสนับสนุนอยู่
  • มี Java virtual machine สำหรับ NetWare
  • มี Novell Distributed Print Services
  • การบริหารเป็นแบบใหม่โดยใช้ Java – based GUI
  • Directory-enabled ใช้งานแบบ Public key infrastructure services (PKIS)
  • Directory-enabled เป็นทั้ง DNS และ DHCP server
  • สนับสนุนสำหรับ Storage Area Networks (SANs)
  • มี Novell Cluster Services
  • มี Oracle 8i กับการอนุญาตให้มีผู้ใช้ได้ 5 user
กลุ่มบริการส่วนใหญ่เป็นมากกว่า SFT-III ตามที่ NCS ไม่ต้องการความเชี่ยวชาญด้านฮาร์ดแวร์หรือการตั้งค่า server ที่เหมือนกัน NetWare 5 ได้ถูกปล่อยออกมาระหว่างที่การตลาดของ NetWare หยุดนิ่ง หลายบริษัทและองค์กรต่างๆมีการแทนที่ NetWare server ที่กำลังทำงานกับระบบปฏิบัติการ Microsoft’s Windows NT เช่นนั้นแล้ว Novell ได้ปล่อย NetWare ที่มีการอัพเกรดล่าสุดถึงระบบปฏิบัติการ NetWare 4 , NetWare 4.2
NetWare 5.1 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนมกราคมปี 2000 เป็นเวลาสั้นๆจากผลิตภัณฑ์ตัวก่อนมันได้เข้าสู่ประโยชน์ของเครื่องมือ เช่น
  • มี IBM WebSphere Application Server
  • มี NetWare Management Portal (ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ Novell Remote Manager) เป็นการจัดการ web server ของระบบปฏิบัติการ
  • มี FTP,NNTP และ streaming media server
  • มี NetWare Web Search Server
  • มีการสนับสนุน WebDAV
NetWare 6.0
NetWare 6 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนตุลาคมปี 2001 เป็นเวอร์ชันที่มีการอนุญาตทำแผนผังพื้นฐานของผู้ใช้ให้ง่ายขึ้นโดยไม่ใช้ server และได้ลดต้นทุนของกรรมสิทธิ์ลงและอนุญาตให้การติดต่อแบบไม่จำกัดต่อผู้ใช้ การเลี่ยนแปลงอื่นๆคือมีลักษณะเฉพาะและการแก้ไขรวมไว้ในที่นี้
  • เพิ่ม SMP เพื่อสนับสนุนโปรเซสเซอร์ขนาด 32 บิต ต่อ server
  • มี iFolder – location และรูปแบบที่เป็นตัวของตัวเองการเข้าถึงไฟล์แบบ local โดยอัตโนมัติอย่างชาญฉลาดของ local iFolder Directory กับ Directory server
  • มี NetStorage การเข้าถึงไฟล์ส่วนบุคคลผ่าน web server
  • iPrint ความสามารถในการติดตั้งปริ๊นเตอร์จาก web server รองรับการพิมพ์งานมากกว่าการพิมพ์ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยโพรโทคอล IPP
  • iManager การบริหาร web-based สำหรับ NetWare และผลิตภัณฑ์ Novell อื่นๆ
  • มี Apache web server และ Jakarta Tomcat รวมอยู่ด้วย
  • แต่แรกแล้วโพรโทคอลเข้าถึงไฟล์สนับสนุนสำหรับ SMB, AFP และโพรโทคอล NFS จนถึง Windows, Macintosh และ Unix/Linux กับการเข้าถึงไฟล์บน NetWare server โดยปราศจากเครื่องลูก
NetWare 6.5
NetWare 6.5 ได้ถูกปล่อยออกมาในเดือนสิงหาคมปี 2003 บางอย่างของลักษณะเฉพาะในเวอร์ชันนี้คือ
  • เป็นมากกว่าผลิตภัณฑ์ open -source เช่น PHP, MySQL และ OpenSSH
  • พอร์ตของ Bash shell และได้สืบทอดมาจากประโยชน์ของ Unix เช่น wget, grep, awk และ sed เพื่อเพิ่มความสามารถสำหรับการเขียนต้นร่าง
  • สนับสนุน iSCSI (ทั้งคู่มีจุดมุ่งหมายและการริเริ่มเดียวกัน)
  • แก่นแท้ขององค์กรคือ “out of the box” ทางเข้าเว็บสำหรับการเตรียมการเข้าถึงอีเมล์ของผู้ใช้ ที่เก็บไฟล์ส่วนบุคคล สมุดที่อยู่ของบริษัท
  • มีหน้าที่เกี่ยวกับ Domain controller
  • มี Password เป็นสากล
  • มี DirXML Starter Pack เข้ารหัสของผู้ใช้งานกับอย่างอื่นคือ eDirectory tree,Windows NT Domain หรือ Active Directory
  • มี extend Application Server – a J2EE 1.3 ซึ่งเข้ากันได้กับ Application server
  • สนับสนุนสำหรับ customized printer driver profile และ วิธีการใช้ปริ๊นเตอร์
  • สนับสนุน NX bit
  • สนับสนุนสำหรับอุปกรณ์ต่อพวงแบบ USB
  • สนับสนุนสำหรับระดับการเข้ารหัส
ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

ฟิล์ม

ฟิล์ม


ฟิล์มถ่ายภาพ เป็นแถบวัสดุทำจากพลาสติก (โพลีเอสเตอร์, เซลลูลอยด์ หรือเซลลูโลสอะซิเตด) เคลือบด้วยสารเคมีที่มีส่วนผสมของเกลือเงินไวแสง ที่มีขนาดของผลึกแตกต่างกันตามค่าความไวแสงหรือความละเอียดของเนื้อฟิล์ม เมื่อสารเคมีที่เคลือบไว้ถูกกับแสง (หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าบางชนิด เช่น รังสีเอกซ์) จะทำให้เกิดภาพปรากฏขึ้นบนแผ่นฟิล์ม โดยจะเป็นภาพที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า จำเป็นต้องผ่านกระบวนการล้างฟิล์ม เพื่อให้ภาพที่ได้ปรากฏให้เห็น
ฟิล์มขาวดำจะมีสารเคมีเคลือบไว้ชั้นเดียว เมื่อผ่านการล้างฟิล์มแล้วเกลือเงินจะเปลี่ยนรูปเป็นโลหะเงินทึบแสง ซึ่งจะปรากฏเป็นส่วนสีดำของเนกาทีฟ
ฟิล์มสีจะมีชั้นของสารเคมีอย่างน้อยสามชั้น โดยแต่ละชั้นจะไวต่อแสงต่างสีกัน ชั้นบนสุดเป็นชั้นที่ไวต่อแสงสีน้ำเงิน ชั้นต่ำต่อมาไวต่อแสงสีเขียวและแดงตามลำดับ

 
ฟิล์มที่ยังไม่ได้ล้าง

 ประเภทของฟิล์ม

ฟิล์มทั่วไปมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
  • ฟิล์มเนกาทีฟ (Negative film) หรือที่นิยมเรียกว่า "ฟิล์มสี" เมื่อผ่านการล้าง เนกาทีฟที่ได้จะมีสีกลับด้าน (สีดำมองเห็นเป็นสีขาว สีขาวมองเห็นเป็นสีดำ) ถ้าต้องการเห็นภาพที่มีสีถูกต้อง จะต้องนำไปอัดลงบนกระดาษอัดภาพ ในที่นี้หมายถึงทั้งฟิล์มสำหรับถ่ายภาพสีและถ่ายภาพขาวดำ
  • ฟิล์มสไลด์ (Reversal film) เมื่อผ่านการล้าง จะได้แผ่นใสที่มีสีตรงตามความเป็นจริง สามารถส่องดูผ่านแสงได้เลย นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์ โดยช่างภาพมืออาชีพ เนื่องจากให้สีสันที่ถูกต้องครบถ้วนกว่าฟิล์มสี

 ขนาดของฟิล์ม

 บริษัทผลิตฟิล์ม

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

กล้องถ่ายภาพ

กล้องถ่ายภาพ

 
ภาพจำลองกล้องถ่ายภาพในปัจจุบัน
กล้องถ่ายภาพ หรือ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์บันทึกแสงที่สะท้อนจากวัตถุผ่านเลนส์ของกล้อง เป็นการจำลองภาพทางแสงให้บันทึกลงบนวัสดุไวแสง (ฟิล์มถ่ายภาพประเภทต่าง ๆ และ/หรือตัวรับภาพ - Image Sensor) บันทึกเป็นภาพแฝงบนวัสดุไวแสง ก่อนนำไปผ่านกระบวนการล้างให้เป็นภาพถ่ายถาวร

 

 ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

เลนส์ถ่ายภาพ
  • เลนส์ถ่ายภาพ - คือวัตถุที่ทำจากแก้วชนิดดีมีลักษณะกลม ในกล้องถ่ายภาพ เลนส์ทำหน้าที่รับภาพและรับแสงจากภายนอกตัวกล้องไปยังวัสดุไวแสง
  • ตัวกล้อง
  • ตัวรับภาพ (Image Sensor)
  • ไดอะแฟรม
  • ชัตเตอร์
  • ช่องมองภาพ
  • แฟลช

 ส่วนประกอบของกล้องถ่ายภาพ

  • เลนส์ - มีหน้าที่รวมแสงจากวัตถุ เพื่อให้ตกลงบนฟิล์มถ่ายภาพ CCD หรือ CMOS ของกล้องได้
  • ตัวถัง (Body) - ส่วนใหญ่จะทำจากอะลูมิเนียม โลหะผสมแมกนีเซียม หรือ พลาสติกอัดแข็ง เพื่อให้มีความแข็งแรงทนทาน โดยรูปร่างจะแบ่งออกตามประเภทของกล้อง
  • Image sensor - หรือตัวรับภาพซึ่งมีทั้งแบบฟิล์ม และแบบ Digital โดยแบบ Digital นั้นจะมีอุปกรณ์เช่น CCD, CMOS เป็นตัวรับภาพ ซึ่งทั้งฟิล์มและตัวรับภาพดิจิตอลนั้น จะทำหน้าที่ในการรับแสง โดยฟิล์มจะไปเก็บในรูปแบบปฏิกิริยาเคมีบนเนื้อฟิล์ม ส่วนแบบดิจิตอลจะเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าและทำหน้าที่ประมวลผลต่อไป CCD และ CMOS ซึ่งทำจาก Silicon ด้วยกันทั้งคู่ ต้นทุนการผลิต CCD จะสูงกว่า แต่ CCD จะมี Noise มากกว่ากว่า CMOS อย่างเห็นได้ชัด แต่ก็ขึ้นกับความสามารถของโปรแกรมของกล้องนั้นๆอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตกล้อง ส่วนใหญ่มักจะใช้ CCD จาก Sony ซึ่งมีปัญหาใน CCD บางรุ่น
  • แบตเตอรี่ - แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือแบตเตอรี่ชนิด Li-ion (ลิเทียม ไอร์ออน) และ NiMH (นิกเกิล เมธัลไฮดราย) ซึ่งแต่ละแบบก็มีคุณสมบัติเด่นคนละแบบ ซึ่งกล้องขนาดเล็กมักใช้ Li-ion เนื่องจากมีขนาดเล็กน้ำหนักเบา และเก็บประจุได้มาก ส่วน NiMH มักจะพบในกล้องระดับกลาง และ D-SLR จนถึง SLR เนื่องจาก เก็บประจุไฟได้มาก และสามารถหาเปลี่ยนได้อย่างง่ายดาย (สามารถใช้ แบตเตอรี่ชนิด AA ทดแทนได้)
  • ปุ่มควบคุม - แล้วแต่รุ่นและผู้ผลิต ปุ่มเหล่านี้จะเป็นตัวปรับเปลี่ยนการทำงานของกล้อง
  • แฟลช - แฟลชจะเป็นตัวเพิ่มแสงในกรณีที่ภาพมืดเกินไป จนอาจจะทำให้เกิดการสั่นไหวของภาพ แต่การใช้แฟลชจะทำให้ อุณภูมิสีของภาพ เปลี่ยนแปลงไป ในกล้องดิจิตอลคอมแพค จะตั้งค่าแฟลชอัตโนมัติ

 กล้องถ่ายรูปแบบต่าง ๆ

  • กล้องกลาง หรือ มีเดียมฟอร์แมท (Medium Format) จะใช้ฟิล์มแบบ 120 หรือ 220 ความกว้างของฟิล์ม 6 เซนติเมตร ความยาวของฟิล์มแล้วแต่รุ่นของกล้อง ขนาดที่นิยมคือ 4.5 เซนติเมตร 6 เซนติเมตร หรือ 7 เซนติเมตร และขนาดยาวพิเศษ 9 เซนติเมตร หรือ 19 เซนติเมตร มีทั้งกล้องแบบเรนจ์ไฟน์เดอร์ กล้องแบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว และกล้องแบบสะท้อนภาพเลนส์คู่ ในปัจจุบันมีการใช้ตัวรับภาพแบบดิจิตอล (Digital Back) แทนฟิล์มด้วย
  • กล้องของเล่น หรือ กล้องทอย (Toy) เป็นกล้องถ่ายรูปราคาถูกที่ใช้ฟิล์ม มักจะผลิตจากพลาสติก ทั้งส่วนตัวกล้องและเลนส์ และไม่มีระบบไฟฟ้าอื่นๆ นิยมใช้เลนส์มุมกว้างทางยาวโฟกัสเดียว ระยะโฟกัสตายตัว ไม่มีระบบหาระยะชัด
  • กล้องบ๊อกซ์
  • กล้องคอมแพค
  • กล้องแบบมีเครื่องหาระยะ (Range Finder)
  • กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single Lens Reflection) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่ากล้อง SLR หากเป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวที่ใช้ตัวรับภาพแบบดิจิตอล จะเรียกว่า Digital SLR หรือ DSLR มีทั้งกล้องขนาดเล็ก (กล้อง 35 มม.) และกล้องขนาดกลาง
  • กล้องสะท้อนภาพเลนส์คู่ (Twin Lens Reflection) เป็นกล้องขนาดกลาง ใช้ฟิล์มขนาด 120 หรือ 220 มีเลนส์สองชุด ชุดหนึ่งสำหรับดูภาพ และอีกชุดหนึ่งสำหรับบันทึกภาพ
  • กล้องหนังสือพิมพ์
  • กล้องใหญ่ (Large Format) เป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มแบบแผ่นขนาด 4x5 นิ้ว 6x7 นิ้ว หรือ 8x10 นิ้ว
  • กล้องดิจิทัล

 รายชื่อผู้ผลิตกล้องถ่ายภาพ

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฟลอปปีดิสก์

ฟลอปปีดิสก์

 
แผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว
 
แผ่นดิสก์ขนาด 5¼ นิ้ว

แผ่นดิสก์แบบอ่อน หรือ ฟลอปปีดิสก์ (อังกฤษ: floppy disk) หรือที่นิยมเรียกว่า แผ่นดิสก์ หรือ ดิสเกตต์ (diskette) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูล ที่อาศัยหลักการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็ก โดยทั่วไปมีลักษณะบางกลมและบรรจุอยู่ในแผ่นพลาสติกสี่เหลี่ยม คอมพิวเตอร์สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงบนฟลอปปีดิสก์ ผ่านทางฟลอปปีดิสก์ไดร์ฟ (floppy disk drive)

 ประวัติ

แผ่นดิสก์ยุคแรก มีขนาด 8 นิ้ว สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1971 เพื่อใช้กับเครื่อง System/370 ของบริษัทไอบีเอ็ม (IBM) สร้างโดย เดวิด โนเบิล ในทีมงานของ อะลัน ซูการ์ต ซึ่งต่อมา ซูการ์ตแยกตัวออกไปตั้งบริษัททำวิจัยเกี่ยวกับหน่วยความจำ ชื่อบริษัทซูการ์ต ในปี ค.ศ. 1973 แต่เพียงหนึ่งปีต่อมา บริษัทก็ขาดทุนและซูการ์ตก็ถูกไล่ออกจากบริษัทตัวเอง
นักวิจัยของบริษัทซูการ์ต ชื่อ จิม แอดคิสสัน ได้รับการติดต่อจาก An Wang เพื่อให้ลดขนาดแผ่นดิสก์ให้เล็กลง การติดต่อเกิดขึ้นที่บาร์ในบอสตัน และขนาดแผ่นดิสก์ใหม่ที่คุยกันคือขนาดเท่ากระดาษเช็ดมือในร้าน ซึ่งมีขนาด 5¼ นิ้ว ต่อมาไม่นาน บริษัทซูการ์ต ก็ผลิตแผ่นดิสก์ขนาดนี้ได้และได้รับความนิยม ในตอนแรก แผ่นมีความจุ 110 KB ต่อมา บริษัท Tandon พัฒนาให้ความจุสูงขึ้น โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลสองหน้า (double density) ทำให้สามารถเก็บได้ 360 KB
แผ่นดิสก์เป็นที่นิยมในท้องตลาดอย่างสูง ทำให้หลายๆ บริษัททุ่มทุนวิจัยทางด้านนี้. ในปี ค.ศ. 1984 บริษัทแอปเปิล ผลิตเครื่องที่ใช้แผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้วของบริษัทโซนี่ และผลักดันให้แผ่น 3½ นิ้ว เป็นมาตรฐานในวงการอุตสาหกรรมของอเมริกา ความจุเริ่มแรกของแผ่นดิสก์ขนาด 3½ นิ้ว คือ 360 KB สำหรับหน้าเดียว (single density) และ 720 KB สำหรับสองหน้า และต่อมาก็สามารถเพิ่มความจุเป็น 1.44 MB โดยการเพิ่มความจุต่อหน้า (high-density) ต่อมา ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็พบวิธีทำให้มีความจุเป็น 2.88 MB (extended-density) โดยการเปลี่ยนวิธีการเคลือบแผ่น แต่รุ่นสุดท้ายนี้ไม่ได้รับความนิยม เพราะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในขณะนั้น ต้องการความจุที่สูงกว่านี้ แผ่นดิสก์จึงถูกแทนที่ด้วยหน่วยจัดเก็บข้อมูลแบบอื่นไป เช่น ซีดีรอม และ ดีวีดีรอม

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

3 จี 3G

3 จี

 
3 จี (3G) หรือ มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 เป็นมาตรฐานโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 ถูกพัฒนาและกำลังมาแทนที่ ระบบโทรศัพท์ 2G ซึ่ง 3G นั้นพัฒนาบนพื้นฐานของมาตรฐาน IMT-2000 ภายใต้กลุ่มของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ
มาตรฐานโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 หรือที่เรียกว่า ระบบ UMTS หรือ WCDMA ในระบบ GSM 850 , 900 , 1800 , 1900 และ 2100 (ที่เป็นสากลที่โทรศัพท์ระบบ 3G ต้องมี)

 นิยาม

3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามว่า
  • “ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
  • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
  • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
  • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ [1]
    • ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
    • ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
    • ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มในเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่างก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น
เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะสร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)
เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูลแบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice
ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่มมูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของทั้งทวีปเอเชียตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งในท้ายที่สุดบริการแบบ Non-Voice จะมีสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อรายได้รวมทั้งหมด
สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเอง นับตั้งแต่การเปิดให้บริการประเภท Non-Voice อย่างจริงจังเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถสร้างรายได้เพื่อเสริมทดแทนการลดทอนของค่า ARPU ภายในเครือข่ายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายมัลติมีเดียของบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HUTCH) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา สภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายในประเทศไทยก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการสร้างบริการ Non-Voice ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การคิดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งการทดลองเปิดให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TV on Mobile) ซึ่งความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ทำให้เกิดกระแสความสนใจใช้บริการ Non-Voice เพิ่มมากขึ้น
รูปที่ 3 และ 4 แสดงถึงความสำคัญของรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการ Non-Voice นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของตนให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตน ซึ่งแตกต่างจากสภาพการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ มีการเพิ่มค่า ARPU ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากนโยบายการตลาดของผู้ให้บริการที่มีการจำกัดเวลาในการโทรให้สัมพันธ์กับวงเงินก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ความนิยมในบริการ Non-Voice ประเภท SMS และ EMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของบริการดาวน์โหลดรูปภาพ (Logo/Animation) และเสียงเรียกเข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการเพิ่มค่า ARPU ดังกล่าว
ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G
ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา
แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice ในลักษณะเดียวกับที่พบในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐานไปยังเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป
ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป โดยในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกสำหรับใช้บริการ ความสนใจที่จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรับส่งข้อมูลจึงมีอยู่เฉพาะการเล่นเกมส์และส่ง SMS, MMS ซึ่งทำได้ง่าย และมีการประชาสัมพันธ์ดึงดูดใจมากมาย
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิดให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป
จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA
นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 6 จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคในตระกูล 2G/2.5G/2.75G ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันที
ข้อมูลจาก UMTS Forum ในรูปที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน GSM โดยพิจารณาอัตราการเติบโตภายในช่วง 10 ไตรมาสแรก (2 ปีครึ่ง) หลังจากการเปิดให้บริการ GSM ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เทียบกับ 10 ไตรมาสแรกหลังจากการเปิดให้บริการ W-CDMA ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พบว่าเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ามาก มูลเหตุสำคัญมาจากแรงผลักดัน (Business Momentum) ที่ผู้ใช้บริการ 2.5G หรือ 2.75G รอคอยเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่สามารถตอบสนองความต้องการในการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายยังมีความคล่องตัวในการจัดสรรเครือข่ายในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างบริการสื่อสารประเภท Non-Voice ที่ต้องพึ่งพาอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น นอกเหนือจากบริการ Non-Voice พื้นฐานอย่าง SMS และ EMS
กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)
1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น
2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย
3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้นในอดีต
4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM
5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อการขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)
6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ
7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าวได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป
8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G
ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA ดังมีข้อมูลแสดงในรูปที่ 8 โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G ดังแสดงในรูปที่ 9
ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ดังแสดงในรูปที่ 10 แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลักดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์

ซอฟต์แวร์ (อังกฤษ: software) หรือ ส่วนชุดคำสั่ง [1] หรือบางครั้งมีการสะกดว่า ซอฟ‌ท์แวร์ เป็นส่วนของระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูล ซอฟต์แวร์นั้น นอกจากจะสามารถใช้งานบนคอมพิวเตอร์ได้แล้ว ยังสามารถใช้งานบนเครื่องใช้ หรืออุปกรณ์อื่น เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือหุ่นยนต์ในโรงงาน หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คำ ว่า "ซอฟต์แวร์" ใช้ครั้งแรกโดย จอห์น ดับเบิลยู. เทอร์กีย์ (John W. Turkey) ในปี พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) โดยแนวคิดของซอฟต์แวร์ปรากฏครั้งแรกในเรียงความของแอลัน ทัวริง บิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ กล่าว กันว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชิ้นแรกของโลกเขียนโดยเอดา ไบรอน เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ
 

ความสัมพันธ์กับฮาร์ดแวร์

ซอฟต์แวร์ เป็นชื่อเรียกเพื่อใช้เปรียบต่างกับฮาร์ดแวร์ซึ่ง เป็นลักษณะทางกายภาพในการเก็บและประมวลผลของซอฟต์แวร์ ในคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานในแรมและประมวลผลผ่านซีพียู

ประเภทของซอฟต์แวร์

 
หน้าจอของโปรแกรมประยุกต์ เว็บเบราว์เซอร์ไฟร์ฟอกซ์
การแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์แบ่งออกได้เป็นหลายๆ แบบ อาทิเช่น 1. การแบ่งเชิงเทคนิค อาจแบ่งซอฟต์แวร์เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
2.การแบ่งตามรูปแบบการส่งมอบ แบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
  • ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป (Package software) ซอฟต์แวร์ที่มีการขาย ให้เช่า หรือให้บริการ โดย คิดค่าบริการเป็น transaction หรือ license
  • ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาเงินเดือน(Outsources software development) เป็นการออกแบบและพัฒนา ซอฟต์แวร์ เพื่อใช้งานเฉพาะกับงานประเภทต่างๆ เฉพาะกิจกรรมๆ ไป ส่วนใหญ่ลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์นี้จะเป็นของผู้ที่ว่าจ้างให้พัฒนาขึ้น
3. การแบ่งตามประเภทของการนำไปใช้งานหลัก แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มคือ
  • ซอฟต์แวร์ช่วยในการบริหารจัดการทั่วไป (Enterprise software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานเพื่อแก้ปัญหา/จัดการทรัพยากรของ บุคคล/องค์กร เช่น ซอฟต์แวร์บัญชี ซอฟต์แวร์จัดทำเอกสาร เป็นต้น
  • ซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก (Mobile applications software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำงานผ่านระบบปฏิบัติการพิเศษบนอุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ PDA โดยสามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ (1) ซอฟต์แวร์เพื่อสนับสนุนธุรกรรมทางธุรกิจ (Business applications) เช่น Mobile banking, Mobile payment, GPS on Mobile, Mobile applications for business process management และ(2) ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับนันทนาการและบันเทิง (Entertainment applications) ซึ่งรวมเกมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
  • ซอฟต์แวร์สมองกลฝังตัว (Embedded System Software) เป็นซอฟต์แวร์ซึ่งฝังอยู่ไว้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ เช่น ระบบ GPRS ระบบทำความเย็นอัจริยะ ระบบตรวจสอบย้อนกลับ เป็นต้น

ซอฟต์แวร์ กับ ไลบรารี

ซอฟต์แวร์ แตกต่างกับไลบรารี โดยซอฟต์แวร์สามารถนำมาประมวลผลได้ด้วยตัวเอง ในขณะที่ไลบรารีเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์และไม่สามารถนำมาใช้ประมวผล เดี่ยวๆได้

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์

 
 
จันทร์หอม หรือ อนุรักษ์ (อ. lapins) หรือเรียกย่อว่า ต่าย (อ.lune ) [1] เป็นคำที่ใช้อ้างอิงถึง ส่วนที่จับต้องได้ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่รวมถึงข้อมูล, ระบบการคำนวณ, และซอฟต์แวร์ ที่ป้อนชุดคำสั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำการประมวลผล

      ความจริง ขอบเขตที่แบ่งระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ไม่ได้ชัดเจน เพราะระหว่างกลางอาจจะมีเฟิร์มแวร์ ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างมาโดยเฉพาะ เพื่อฝังไว้ในฮาร์ดแวร์อยู่ด้วย โดยที่ผู้ใช้ทั่วไป ไม่จำเป็นต้องกังวลกับเฟิร์มแวร์เหล่านี้ เพราะเป็นส่วนที่โปรแกรมเมอร์ และวิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ดูแล

 อุปกรณ์พื้นฐาน

สถาปัตยกรรมของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ประกอบด้วย
ส่วนอุปกรณ์ หมายถึง ชิ้นส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้างที่เกี่ยวข้องต่างๆ
ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่สำคัญคือ หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2.1 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หน่วยประมวลผลกลางหรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ซีพียู (CPU) เป็นหน่วยที่เปรียบเสมือนสมองของระบบคอมพิวเตอร์ และเป็นหน่วยที่มีความซับซ้อนมากที่สุด ส่วนประกอบต่าง ๆ ในหน่วยประมวลผลกลางเป็นตัวกำหนดความเร็วของเครื่องคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผลกลางรุ่นใหม่ ๆ จะมีขนาดเล็กลงในขณะที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น
2.2 หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.2.1 หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory)
2.2.2 หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory)
2.3 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้เข้าสู่หน่วยความจำหลัก ปัจจุบันมีสื่อต่าง ๆ ให้เลือกใช้ได้มากมาย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
2.3.1 อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device) แป้นพิมพ์ (Keyboard) แบ่งเป็น 4 กลุ่มด้วยกันคือ แป้นอักขระ (Character Keys) แป้นควบคุม (Control Keys) แป้นฟังก์ชัน (Function Keys) แป้นตัวเลข (Numeric Keys)
2.3.2 อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device) เช่น เมาส์ (Mouse) ลูกกลมควบคุม (Track ball) แท่งชี้ควบคุม (Track Point) แผ่นรองสัมผัส (Touch Pad) จอยสติก (Joy stick) เป็นต้น
2.3.3 จอภาพระบบไวต่อการสัมผัส (Touch-Sensitive Screen) เช่น จอภาพระบบสัมผัส (Touch screen)
2.3.4 ระบบปากกา (Pen-Based System) เช่น ปากกาแสง (Light pen) เครื่องอ่านพิกัด (Digitizing tablet)
2.3.5 อุปกรณ์กวาดข้อมูล (Data Scanning Device) เช่น เอ็มไอซีอาร์ (Magnetic Ink Character Recognition - MICR) เครื่องอ่านรหัสบาร์โค้ด (Bar Code Reader) สแกนเนอร์ (Scanner) เครื่องรู้จำอักขระด้วยแสง (Optical Character Recognition - OCR) เครื่องอ่านเครื่องหมายด้วยแสง (Option Mark Reader -OMR) กล้องถ่ายภาพดิจิตอล (Digital Camera) กล้องถ่ายทอดวีดีโอดิจิตอล (Digital Video)
2.3.6 .อุปกรณ์รู้จำเสียง (Voice Recognition Device) เช่น อุปกรณ์วิเคราะห์เสียงพูด (Speech Recognition Device)
2.4 หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากคอมพิวเตอร์ โดยมากจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
2.4.1.หน่วยแสดงผลชั่วคราว (Soft Copy) หมายถึงการแสดงผลออกมาให้ผู้ใช้ได้รับทราบในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลนั้นก็จะหายไป ไม่เหลือเป็นวัตถุให้เก็บได้ ถ้าต้องการเก็บผลลัพธ์นั้นก็สามารถส่งถ่ายไปเก็บในรูปของข้อมูลในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้สามารถใช้งานได้ในภายหลัง
2.4.2 หน่วยแสดงผลถาวร (Hard Copy) หมายถึงการแสดงผลที่สามารถจับต้อง และเคลื่อนย้ายได้ตามต้องการ มักจะออกมาในรูปของกระดาษ
2.5 หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit) เนื่องจากแรมเป็นหน่วยความจำที่ไม่ได้เก็บข้อมูลอย่างถาวร ถ้าปิดเครื่องหรือไฟดับข้อมูลก็หายไป ดังนั้นถ้าผู้ใช้มีข้อมูลอยู่ในแรมก็จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูล โดยย้ายข้อมูลจากหน่วยความจำไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลได้อย่างถาวร เก็บข้อมูลเป็นจำนวนมากได้ แต่ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจะต่ำกว่าแรมมาก ดังนั้นจึงควรทำงานให้เสร็จก่อนจึงย้ายข้อมูลนั้นไปไว้ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง
2.6 ส่วนประกอบอื่น ๆ
2.6.1 แผงวงจรหลัก (Main Board)
2.6.2 ส่วนเชื่อมต่ออุปกรณ์ (Peripheral Inteface)
2.6.3 อุปกรณ์พีซีการ์ด (PC-Card)
2.6.4 อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล (Data communication device)
2.6.5 ยูพีเอส (UPS)

ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki