วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โทรทัศน์

โทรทัศน์

 
เครื่องโทรทัศน์ Braun HF 1 จากเยอรมนี สมัยปี พ.ศ. 2501
โทรทัศน์ เป็นระบบโทรคมนาคมสำหรับการกระจายและรับภาพเคลื่อนไหวและเสียงระยะไกล คำนี้ยังหมายถึงรายการโทรทัศน์และการแพร่ภาพอีกด้วย คำว่าโทรทัศน์ในภาษาไทย มีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษ คือ television ซึ่งเป็นคำผสมจากคำกรีก tele- ("ระยะไกล" — โทร-) และ -vision ที่มาจากภาษาละติน visio ("การมองเห็น" — ทัศน์) มักเรียกย่อเป็น TV (ทีวี) โทรทัศนขาว-ดำเครื่องแรกของโลก ที่ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2468 เป็นผลงานการประดิษฐ์ของจอห์น ลอกกี้ เบรียด ชาวสกอตแลนด์ [1]
 

 ในประเทศไทย

ประเทศไทยเริ่มมีการแพร่ภาพโทรทัศน์เมื่อ 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 โดย บริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด แพร่ภาพทาง สถานีโทรทัศน์ไทยทีวี ช่อง 4 ผ่านระบบโทรทัศน์ขาวดำ จาก วังบางขุนพรหม (ปัจจุบันเป็นโมเดิร์นไนน์ ทีวี) ต่อมามีการพัฒนาเป็นระบบโทรทัศน์สี ซึ่งสถานีโทรทัศน์สีแห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 หรือช่อง 7 สี เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 สำหรับสถานีโทรทัศน์แห่งชาติของไทยนั้น ก็คือ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ทั้งชื่อ ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และ เอ็นบีที เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 สำหรับสถานีโทรทัศน์สาธารณะของไทยนั้น ก็คือ สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย เริ่มแพร่ภาพครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551

 การส่งโทรทัศน์ในระบบ VHF และ UHF ในประเทศไทย

 คลื่นความถี่ที่ถูกส่งในประเทศไทย

  • VHF มีจำนวน 11 ช่อง คือ ช่อง 2-12 (โดยแบ่งกัน 2 ลักษณะ คือความถี่ต่ำ คือ ช่อง 2-4 และ ความถี่สูง คือ ช่อง 5-12)
  • UHF มีจำนวน 40 ช่อง คือ ช่อง 21-60

 ตัวเลขที่ถูกบังคับให้ส่งคลื่น

  • VHF มีจำนวน 12 ช่อง คือ ช่อง 1-12 บางกรณีอาจถึง 13 ช่อง คือจนถึงช่อง 13 นั้นเอง (บางครั้งก็ใช้ตัวอักษรโรมัน เรียกการส่งคลื่นในบางประเทศ)
  • UHF มีจำนวน 72 ช่อง คือ ช่อง 13-84 บางกรณีอาจเริ่มตั้งแต่ช่อง 14 เพราะฉะนั้นมาตรฐานอาจจะเหลือเป็น 71 ช่อง
ทั้งนี้ทั้งนั้น บางประเทศอาจส่งโทรทัศน์มากกว่ามาตรฐานก็ว่าได้ ยกตัวอย่างเช่น มีบางประเทศอาจจะส่งโทรทัศน์ในระบบวีเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 1 ถึงช่อง 18 และระบบยูเอชเอฟตั้งแต่ช่อง 19 ถึงช่อง 72 เป็นต้น และระบบทั้ง 2 เป็นช่องส่งสัญญาณโทรทัศน์ที่กำหนดได้แน่นอนที่สุด แม้จะออกอากาศ โดยใช้เสาอากาศภาคพื้นดิน

 คลื่นความถี่ส่ง

แบ่งเป็น 2 ประเภทดังนี้

 ประเภทเครื่องส่งกับเสาอากาศภาคพื้นดิน

ประเภทเครื่องส่งกับดาวเทียม

 ประเภทอื่น

 ประเภทของโทรทัศน์

ขนาดภาพของโทรทัศน์ส่วนใหญ่ที่ส่งมาตามบ้านมักจะมีขนาดเล็กมากกว่าจอโทรทัศน์ทั่วไป ขนาดของโทรทัศน์ที่แสดงในตารางเป็นขนาดอย่างน้อยที่สุดที่ภาพจะไม่ถูกบีบอัดให้เล็กลง โดยทั่วไปมักใช้ SDTV ที่ภาพมีขนาดพอดีกับ 8 นิ้วแต่ภาพก็จะมาถูกขยายให้ใหญ่เท่ากับขนาดของโทรทัศน์ที่อยู่ตามบ้านซึ่งอาจอยู่ที่ 14-28 นิ้ว ส่วนโทรทัศน์ตั้งแต่แบบ HDTV ขึ้นไปจะเป็นการส่งสัญญาณภาพที่มีขนาดใหญ่มากกว่าเพื่อความชัดของภาพ และโดยทั่วไปมักใช้โทรทัศน์ขนาด 32 นิ้วขึ้นไปในการรับชมแบบความละเอียดสูง ถ้าโทรทัศน์ตามบ้านมีขนาดเล็กกว่าขนาดของภาพที่ส่งมา ภาพก็จะถูกบีบอัดให้เล็กลงตามขนาดของโทรทัศน์ ดังนั้นโทรทัศน์ที่เหมาะสมกับระดับ HDTV ขึ้นไปควรมีขนาดอย่างน้อยที่สุดดังในตาราง
ชื่อขนาดอัตราส่วนอักษรย่อขนาดของโทรทัศน์
Low Definition Television320 × 2404 : 3LDTV (240p)6 นิ้ว
Standard Definition Television640 × 4804 : 3SDTV (480p)8 นิ้ว
High Definition Television1920 × 108016 : 9HDTV (1080p)25 นิ้ว
Extreme High Definition Television2560 × 144016 : 9EHDTV (1440p)45 นิ้ว
Quad Full High Definition Television3840 × 216016 : 9QHDTV (2160p)50 นิ้ว
Ultra High Definition Television7680 × 432016 : 9UHDTV (4320p)100 นิ้ว
  • ปัจจุบันมีการแพร่ภาพอยู่ 2 ประเภท คือ ความละเอียดมาตราฐาน (SDTV) กับ ความละเอียดสูง (HDTV)
  • ในแถบทวีปยุโรปมีการออกอากาศโดยใช้ขนาดภาพแบบ 16:9 มาเป็นเวลานานแล้วก่อนที่จะมีโทรทัศน์ความละเอียดสูงเนื่องจากโทรทัศน์ในยุโรปส่วนใหญ่เป็น 16:9 ฉะนั้นในทวีปยุโรปการออกอากาศก่อนปี พ.ศ.2550 ที่เป็นโทรทัศน์ความละเอียดมาตราฐานแต่ได้ปรับภาพเป็นอัตราส่วน 16:9
  • โทรทัศน์ความละเอียดสูงเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ ปี พ.ศ.2550 และใช้ขนาดภาพ 16:9 เสมอ
  • UHDTV เป็นโทรทัศน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตแต่ปัจจุบันมีการออกอากาศที่ ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เดียวในโลกของสถานีโทรทัศน์ เอ็นเอชเค โดยเรียกว่า Super-Hi Vision
ที่มา...http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น